ม.มหิดล วิจัยศึกษาเลือด ‘ตัวเงินตัวทอง’ หวังพิชิตมะเร็ง COVID-19 และโรคอุบัติใหม่ครั้งแรกของโลก

ม.มหิดล วิจัยศึกษาเลือด ‘ตัวเงินตัวทอง’ หวังพิชิตมะเร็ง COVID-19 และโรคอุบัติใหม่ครั้งแรกของโลก

ม.มหิดล มุ่งวิจัยศึกษาคุณสมบัติทางยาจากเลือด “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) หวังพิชิตมะเร็ง COVID-19 และโรคอุบัติใหม่ครั้งแรกของโลก คนและสัตว์มีความเกี่ยวข้องกันเป็น “One Health” ซึ่งเมื่อเกิดโรคอาจถ่ายทอดจากคนสู่สัตว์ และสัตว์สู่คนได้ สัตวแพทย์ในทุกวันนี้จึงไม่ได้ทำหน้าที่เพียงรักษาสัตว์ แต่เพื่อสุขภาวะของทุกคนบนโลกใบนี้ด้วย

ปัญหาโรคติดเชื้อนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ 

ซึ่งเชื้อไวรัส COVID-19 ก็เป็นอีกหนึ่งในโรคติดเชื้อที่กำลังทำให้โลกเกิดวิกฤติจากปัญหาการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความพยายามผลิตวัคซีนจากภูมิคุ้มกัน (Antibody) ของมนุษย์เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID-19 กันอย่างแพร่หลาย รองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์จิตรกมล ธนศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีความพยายามที่จะวิจัยศึกษาคุณสมบัติทางยาจากเลือด “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) เพื่อดูฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็ง แบคทีเรีย และไวรัสก่อโรคอุบัติใหม่ รวมทั้ง COVID-19 ซึ่งหากบรรลุผลได้ตามเป้าหมายจะกลายเป็นรายแรกของโลก

จากสมมุติฐานที่ว่า ทำไม “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) ถึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้จากการกินซากสิ่งมีชีวิต และแม้ในน้ำเน่าเสีย ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์จิตรกมล ธนศักดิ์ จึงเกิดความคิดที่จะริเริ่มศึกษาถึงระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของสัตว์เลื้อยคลานซึ่งอยู่ในประเภทสัตว์ป่าคุ้มครองดังกล่าว จึงได้ขออนุญาต กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างเลือดจาก “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) ที่มีลักษณะสมบูรณ์มาศึกษาทางโปรตีน (Proteomics) ในห้องปฏิบัติการ โดยใช้เลือดตัวอย่างเพียงเล็กน้อย ก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งในเบื้องต้นพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ตลอดจนเชื้อแบคทีเรียบางชนิด รวมถึงอาจต่อยอดเพื่อศึกษาการยับยั้งเชื้อไวรัส ซึ่งรวมถึง COVID-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ได้อีกด้วย

“ในขณะที่โลกมีการคิดค้นวัคซีนป้องกัน COVID-19 อย่างแพร่หลาย แต่การรักษายังคงเป็นไปตามอาการ ไม่มียาใดที่ใช้รักษาได้โดยตรง ในบางกรณีก็อาจรักษาโดยใช้ยาต้าน HIV ซึ่งก็ไม่ได้ผลในผู้ป่วยบางราย หากสามารถพัฒนายาใหม่ขึ้นมาได้ ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาที่จะเพิ่มความหวังให้กับมวลมนุษยชาติได้” รองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์จิตรกมล ธนศักดิ์ กล่าว

อย่างไรก็ดี แม้ “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) กำลังใกล้สูญพันธุ์จากการถูกล่า 

จนได้รับการคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และล่าสุดกำลังมีการผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่จะทำให้ “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) กลายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์เชิงเศรษฐกิจ รองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์จิตรกมล ธนศักดิ์ ได้แสดงความคิดเห็นว่า หากทำได้จะส่งผลดีต่อการวิจัยเพื่อพัฒนายาจากเลือด “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) ต่อไป เนื่องจากจะมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจน ระหว่าง “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) ที่อยู่ในธรรมชาติ และ “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) ที่อยู่ในระบบฟาร์ม ซึ่งจะมีการดูแลที่ต่างวัตถุประสงค์กัน เพื่อให้สามารถทำวิจัยได้อย่างจริงจังในเรื่องดังกล่าวจนถึงปลายน้ำ หากอนาคตต้องใช้ประโยชน์จาก “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) การเพาะพันธุ์ในระบบฟาร์มจะตรงตามเป้าหมายและเหมาะสมกว่ามาก

ก้าวต่อไปก่อนที่จะทำให้โลกได้เข้าใกล้ความมุ่งมั่นสู่ความเป็นจริงที่จะสามารถพัฒนายาจากเลือด “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) เพื่อพิชิตนานาโรคร้ายที่กำลังเป็นปัญหาของมนุษย์ คือ การพิสูจน์ให้มั่นใจได้ว่านอกจากสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็ง และแบคทีเรียบางชนิดแล้ว จะไม่ส่งผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติในร่างกายมนุษย์ ก่อนจะดำเนินการยื่นจดสิทธิบัตรให้แล้วเสร็จในเบื้องต้นภายในปลายปี 2564 นี้ ก่อนเดินหน้าศึกษาวิจัยต่อยอดเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านไวรัสที่ครอบคลุม 3 สายพันธุ์ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ โดยเริ่มจากไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก และ COVID-19 ต่อไป

“ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ หรือวิชาชีพใดๆ ก็สามารถทำประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติได้ หากมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ของตน มุ่งผลเพื่อผู้อื่น สิ่งที่ได้ คือ ความสุขใจที่ได้ทำในสิ่งที่ตนรัก และมีความถนัด ซึ่งจะทำให้ทุกวันของเราได้มีชีวิตอยู่อย่างมีความหมายต่อไป” รองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์จิตรกมล ธนศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย

โดยตัว LucasFilm นั้น ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อช่วงยุค 80 แต่เกมส์แรกที่สร้างนั้นกลับไม่ใช่ Star Wars แต่อย่างใด เนื่องด้วยลิขสิทธิ์ตัวหนังยังอยู่ในการครอบครองของ Atari ในเวลานั้น ทำให้ทางทีมงานต้องสร้างทุกอย่างใหม่ตั้งแต่ต้น และพวกเขาก็ประสบความสำเร็จ ด้วยการผลิตเกมส์ที่มีชื่อเสียง และถือว่าเป็นตำนาน เช่น Monkey Island และ Sam and Max เป็นต้น

พอมาในปี 1990 นั้นทางส่วนงานก็ได้เปลี่ยมาใช้ชื่อ LucasArt และทำการผลิตเกมส์ต่าง ๆ รวมไปถึงถืออำนาจในการจ่ายลิขสิทธิ์ Star Wars แบบเกมส์ให้กระจายไปทั่วอีกด้วย ก่อนที่จะปิดตัวลง และทาง Disney ได้จ่ายลิขสิทธิ์ไปให้ทาง EA แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งก็ไม่ได้โรยไปด้วยกลีบกุหลาบเสียเท่าไหร่

ด้วยปัญหาเรื่อง Loot Boxes และโครงการต่าง ๆ ที่ถูกยกเลิกไปนั้น ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองบริษัทนี้อาจจะไม่ได้ดีเท่าไหร่ ถึงแม้ว่าทางผู้บริหารจะออกมาแก้ต่างก็ตาม

ทำให้เป็นที่น่าสนใจว่าอนาคตต่อไปของเกมส์จักรวาล Star Wars และเกมส์ที่อยู่ครอบครองของ LucasFilm นั้นจะเป็นอย่างไรกันแน่ และแนวทางในการดำเนินการต่อไปจะเป็นไปในทิศทางไหน เราก็ทำได้แค่จับตาดูกันต่อไปหลังจากนี้

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป