กระบะหัวใจรถบรรทุก ไม่รอดใบสั่ง เปิดข้อกฏหมายบรรทุกหนักยังไงไม่ถูกจับ

กระบะหัวใจรถบรรทุก ไม่รอดใบสั่ง เปิดข้อกฏหมายบรรทุกหนักยังไงไม่ถูกจับ

ตำรวจทางหลวง กาญจนบุรี จับปรับ กระบะดัดแปลง บรรทุกหนัก ขนสินค้า บรรทุกหนักเกิน กฏหมายกำหนด ฝากถึงผู้ใช้รถอย่าหาทำ อาจเกิดอันตรายกับเพื่อนร่วมทางได้ ภาพข่าว ตำรวจทางหลวง กาญจนบุรี จับปรับรถกระบะบรรทุกสินค้าเกินน้ำหนักที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยเฟซบุ๊กแฟนเพจ ตำรวจทางหลวง ได้ลงรูปของรถกระบะซึ่งคิดว่าตัวเองเป็นรถบรรทุก จับของขนใส่หลังรถ มัดแน่น สูงเกินหลังคา โผล่โทงเทง ล่อแหลมต่ออุบัตเหตุเพื่อนร่วมทางบนท้องถนน

“คุณพระสุดอะไรขนาดนี้เนี่ยย คิดว่าตัวเองเป็นรถบรรทุกหรืออย่างไร 

ขนมาแบบนี้ไม่ขนบ้านมาเลยละครับ โอยยย ขอที่คาดหัวหน่อยครับบ หน่วยบริการประชาชน ตำรวจทางหลวงไทรโยค อำนวยการจราจรและป้องกันเหตุ ทล.367 กม.3 ต.ปากแพรก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี พบรถกระบะบรรทุกสิ่งของมาสูงมาก จึงเรียกให้หยุดเพราะเกรงว่าจะเกิดอันตราย ได้เรียกผู้ขับขี่มาคุยห้าม ขนของแบบนี้อีก เกรงว่าอาจเกิดอันตรายต่อผู้อื่นได้ พร้อมดำเนินตามกฎหมายแก่ผู้ขับขี่” ข้อความจากโพสต์ของเพจตำรวจทางหลวง

ด.ต.สราวุธ รังกาแกม หัวหน้าหน่วยบริการประชาชน ตำรวจทางหลวงไทรโยค กล่าวว่า ได้ออกใบสั่งให้กับ รถกระบะดัดแปลงขนสินค้าคันดังกล่าวแล้ว โดยเหตุเกิด บริเวณทางหลวงสาย 367 ช่วงกิโลเมตรที่ 3 ในพื้นที่ต.ปากแพรก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

ทั้งนี้ กรมทางหลวง ระบุรถบรรทุกแบกน้ำหนักเกิน กฎหมายลงโทษรุนแรง เพราะโทษปรับแพงมาก คือ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังสามารถเพิ่มบทลงโทษ ขั้นสูงสุด ปรับถึง 1 แสนบาท กับเจ้าของรถ ที่เป็นผู้ประกอบการขนส่งขนบรรทุก รวมถึงผู้จ้างซึ่งเป็นลูกค้าปลายทาง ด้วยเช่นกัน

คุณยาย วัย 91 ขายมอเตอร์ไซค์หลานสาว 1000 บาท หลานสาวทราบเรื่องแทบทรุด ล่าสุด คนรับซื้อส่งคืนจักรยานยนต์คันโปรดแล้ว กรณี หลานสาวคุณยาย วัย 91 ปี ย่านสำโรงเหนือ ออกมาร้องขอความช่วยเหลือจากพี่ๆ นักข่าว คุณยายซึ่งมีอาการหลงลืมเรียกคนรับซื้อของเก่า มารับซื้อจักรยานยนต์คันเก่งของหลานไปในราคา 1,000 บาท

หลานสาวที่เป็นเจ้าของรถ กลับถึงบ้าน ทราบข่าวลมแทบจับวอนคนรับซื้อเอากลับมาคืน โดย พ.ต.อ.อาทิตย์ ซิ้มเจริญ ผกก.สภ.สำโรงเหนือ กล่าว่า หลังทราบเรื่องทางเจ้าหน้าที่ ไล่กล้องวงจรปิด จนทราบหมายเลขทะเบียน และทำการติดต่อประสานกระทั่งหลานสาวของวคุณยายได้รถคู่ใจกลับคืนมา

โดยเมื่อเวลา 22.30 น. ของวันที่ 9 ส.ค.65 สองสามีภรรยาที่รับซื้อของเก่าจากคุณยาย เดินทางมาพบกับทางพนักงานสอบสวน สภ.สำโรงเหนือ และผู้เสียหายเพื่อขอส่งมอบรถจักรยานยนต์คืนซึ่งฝั่งผู้เสียหายก็ได้คืนเงินสดที่รับมาจากสองสามีภรรยา เป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท ให้คืนไป สองฝ่ายต่างพอใจและตกลงกันได้ โดยไม่เอาความแต่อย่างใด

เจ้าของรถจักรยานยนต์ นางสาวรัชดาพร หลานของคุณยาย ได้พูดคุยกับทางสองสามีภรรยา พร้อมรับคำขอโทษจากทั้งสอง โดยคืนเงินสดที่ทางสองสามีภรรยาจ่ายมาให้กับยายคืนไป พร้อม กล่าวขอบคุณที่เอารถมาคืน และต้องขอบคุณสื่อที่ช่วยเป็นกระบอกเสียงจนได้รถมอไซค์ฯ กลับสู่อ้อมกอดในครั้งนี้

รฟม. ตอบข้อกังวล น้ำท่วมสถานีรถไฟใต้ดิน มั่นใจไม่ซ้ำรอยเกาหลีใต้

รฟม. ตอบข้อกังวล น้ำท่วมสถานีรถไฟใต้ดิน หลังเกิดเหตุน้ำท่วมเกาหลีใต้และปรากฎภาพ น้ำท่วมสถานีรถไฟใต้ดิน ยืนยันไม่ซ้ำรอยแน่นอน จากกรณีกระแสข่าวน้ำท่วมเกาหลีใต้ เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 8 สิงหาคม และมีผู้เสียชีวิต อย่างน้อย 8 ศพ โดยจากเหตุน้ำท่วมเกาหลีใต้นั้นปรากฎภาพ น้ำท่วมสถานีรถไฟใต้ดิน ทำให้หลายคนเกิดความกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันในประเทศไทยหรือไม่นั้น

ล่าสุด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ชี้แจงถึงข้อกังวลน้ำท่วมสถานีรถไฟใต้ดินว่า โครงการรถไฟฟ้าภายใต้การกำกับดูแลของ รฟม. ที่ก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นั้น โดยสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งแตกต่างจากพื้นที่ทางใต้ของกรุงโซล ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลาดเชิงเขา จึงประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน อย่างไรก็ตาม รฟม.ได้คำนึงถึงการป้องกันปัญหาน้ำท่วมฉับพลันไว้ตั้งแต่การออกแบบ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ทางขึ้น – ลงสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ถูกออกแบบให้มีความสูงมากกว่าค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดจากสถิติในรอบ 200 ปี นอกจากนี้ ยังจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม โดยมีความสูงเพิ่มเติมอีก 1.00 เมตร (Flood Protection Board) ซึ่งจะสูงราว 2.50 เมตร จากค่าระดับถนนเฉลี่ยในกรุงเทพฯ ที่พร้อมติดตั้งได้ตลอดเวลา

2. เมื่อติดตั้งแผ่นป้องกันน้ำท่วมดังกล่าวแล้ว โอกาสที่น้ำจะรั่วเข้าสถานีมีน้อยมาก และ รฟม. ยังได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำบริเวณทางขึ้น-ลง ของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เพื่อรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินอีกขั้นหนึ่ง พร้อมทั้งได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุโมงค์ สถานี และผนังสถานี ในช่วงน้ำหลากทุกวัน

จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2554 ที่ รฟม. ได้ใช้ประโยชน์จากการออกแบบระบบป้องกันน้ำท่วมดังกล่าว ทำให้โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ไม่ได้รับผลกระทบ และยังสามารถให้บริการประชาชนได้ตามปกติ

รฟม. ขอยืนยันว่า การออกแบบโครงการรถไฟฟ้าภายใต้การกำกับการของ รฟม. เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยในเหตุการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานสากล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป